Site icon Investwallet

Sub domain คืออะไร ต่างกันกับ Sub directory ยังไงและ มีผลอะไรกับ SEO

Sub domain คืออะไร ต่างกันกับ Sub directory ยังไงและ มีผลอะไรกับ SEO

เคยสงสัยไหมว่าระหว่าง sub domain และ sub directory คืออะไร ,มีผลต่อ SEO ยังไง และเราควรเลือกใช้แบบไหนมากกว่ากัน เราจะมาไขคำตอบของเรื่องนี้กันค่ะ

Sub domain คืออะไร

Sub domain คือ เป็นการแบ่งเว็บไซต์ใหม่ขึ้นมาอีกเว็บไซต์หนึ่งแยกจากโดเมนหลัก แต่สร้างชื่อให้อยู่ภายใต้โดเมนหลัก ซึ่งระบบการทำงานก็เหมือนโดเมนหลักทุกอย่าง ตัวอย่างเช่น www.Board. investwallet.money โดยคำว่า “Board” ก็คือ Sub domain นั่นเองค่ะ

Sub directory คืออะไร

Sub directory คือ การสร้าง Folder ย่อยภายใต้โดเมนเดิม โดยอาจจะสร้างเป็นส่วนย่อยของโดเมน หรือ ส่วนย่อยของ Sub domain ก็ได้ ตัวอย่างเช่น https://investwallet.money/sample / โดย คำว่า sample ก็คือ Sub directory ค่ะ

Sub domain กับ Sub directory ต่างกันยังไง

Sub domain จะเป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นใหม่โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อของโดเมนหลัก แต่ sub directory จะเป็นการสร้าง Folder ย่อยภายใต้โดเมนเดิม

แต่สำหรับ Search Engine จะมองว่า Sub domain นั้นเป็นคล้าย ๆ กับลูกข่ายหรือแฟรนไชส์เดียวกันกับโดเมนหลัก แต่มองว่า sub directory นั้นเป็นเว็บไซต์เดียวกันกับโดเมนหลักของเราแต่แยกย่อย ๆ ออกมาค่ะ

Sub domain มีผลอะไรกับ SEO

Sub domain นะคะเป็นเหมือนเว็บไซต์ใหม่ที่ถูกสร้างภายใต้ชื่อโดเมนเดิม ซึ่งใช้ได้ดีมากในกรณีที่เราต้องการทำอีกเว็บไซต์หนึ่งที่เนื้อหาแยกจากโดเมนหลัก เช่น โดเมนหลักของคุณทำเรื่องเกี่ยวกับอาหาร แต่คุณอยากทำอีกเว็บหนึ่งในเรื่องของการแต่งรถ แต่ไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายในการเปิดโดเมนใหม่และไม่อยากเริ่มต้นทำ SEO ใหม่ทั้งหมดก็เลือกทำใน Sub domain แทนค่ะ

สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์และยังไม่เคยรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ SEO ที่ถูกต้อง คงจะเคยอยากทำเนื้อหาที่หลากเลยเพื่อต้องการดึงดูดผู้เข้าชมให้มากที่สุด พวกเขาจึงทำเนื้อหาออกมาในหลาย ๆ รูปแบบและจัดแยกโดยการสร้าง Category ใหม่เท่านั้น วิธีนี้ทำให้ คะแนนรวมของ domain power เว็บไซต์ของพวกเขาลดลงค่ะ และพอคะแนน domain power ลดลงก็จะส่งผลต่ออันดับของเว็บไซต์ด้วย

แต่ในทางกลับกัน ถ้าคุณต้องการเพิ่มเนื้อหาใหม่ที่ไม่สอดคล้องกับเนื้อหาหลัก และยังสามารถรักษาคะแนน domain power เอาไว้ได้ ก็คือการไปสร้างเนื้อหาใหม่นั้นใน Sub domain แล้วลิงก์กลับมาที่เว็บไซต์หลัก โดยวิธีนี้จะส่งผลดีต่อเว็บใหม่ที่สร้างขึ้นและส่งผลดีการทำ SEO ค่ะ

จากตัวอย่างเรื่องของมือใหม่ที่สร้างเว็บโดยการทำหลาย ๆ เนื้อหาที่เรายกตัวอย่างไปนั้น คุณอาจจะสงสัยว่า

แค่ทำเนื้อหาอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกันมาเพิ่มก็มีผลต่อ SEO ด้วยเหรอ ? ในเมื่อเราก็แยก Category แล้วไม่ได้เอาทุกอย่างไปปนกัน เราขออธิบายเรื่องนี้ดังนี้

คุณเคยเห็นอาจารย์หรือโค้ชสอนทำเว็บไซต์พูดไหมคะ ว่าเวลาเราจะทำเว็บไซต์ควรเลือกทำแค่เรื่องใดเรื่องหนึ่งไปเลยดีกว่าการทำแบบจับฉ่าย ที่เขาแนะนำมาแบบนั้นมันมีเหตุผลค่ะ คือ

การทำเนื้อหา (Theam) หากเว็บไซต์ของเราเน้นเนื้อหาไหนก็ตามและมุ่งเน้นไปที่เรื่องนั้น ๆ เช่น คุณทำเว็บเกี่ยวกับอาหาร Google จะมองว่าเว็บไซต์ของคุณเกี่ยวข้องกับอาหาร และพอมีคนค้นหาเรื่องเกี่ยวกับอาหาร เว็บไซต์ของคุณก็อาจจะปรากฏในผลการแสดงการค้นหาและเมื่ออายุของเว็บไซต์เพิ่มขึ้น คะแนนของ domain power ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย

แต่หากคุณทำเนื้อหาที่หลากหลายและปนกันไป Google ก็จะมองไม่ออกว่าเว็บไซต์ของคุณมีจุดเด่นตรงไหนแถมยังทำให้คะแนน domain power ลดลง

เนื่องจาก ถ้าคุณทำเว็บเกี่ยวกับอาหารโดยตรง Google อาจจะให้คะแนน domain power เว็บไซต์คุณที่ 20 คะแนน แต่หากคุณทำเรื่องอื่น ๆ รวมเข้าไปด้วย (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องอาหาร)

Google จะมองว่าเว็บไซต์คุณมีหลายเนื้อหาและจะประเมินคะแนน domain power กระจาย ๆ กันออกไป

เช่นคุณทำ อาหาร ,การแต่งรถ และการ์ตูน 3 อย่าง คะแนนของ domain power อาจจะเหลือแค่ อาหาร 10 คะแนน การแต่งรถ 5 คะแนน และการ์ตูน 5 คะแนนค่ะ

ดังนั้นหากคุณต้องการทำเนื้อหาใหม่แต่เนื้อเรื่องโดยรวมยังอยู่ภายใต้กรอบของเนื้อหาหลัก ยกตัวอย่างเช่น เนื้อหาหลักของคุณเกี่ยวกับอาหาร แต่คุณอยากแยกเป็น อาหารสำหรับเด็ก,สูตรอาหาร,อาหารสำหรับเด็กอายุ 2-4 ขวบ ฯลฯ แบบนี้การสร้าง sub directory จะสามารถตอบโจทย์ได้ดีกว่า

แต่หากเว็บไซต์หลักของคุณทำเรื่องเกี่ยวกับอาหาร แต่คุณอยากเพิ่มการดูแลรถ,ข่าว,ดารา ฯลฯ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหาร การสร้าง Sub domain ก็จะตอบโจทย์ได้ดีกว่า แถมยังไม่ทำให้คะแนนของ domain power ลดลงอีกด้วย

ความแตกต่างในการใช้งานของ Sub domain และ sub directory

  1. Sub directory = ใช้ Theam (เนื้อหา)เดียวกันกับ main เว็บไซต์
  2. Sub domain = แยก Theam(เนื้อหา) มาจาก main เว็บไซต์(สามารถเลือกใช้ Theam(เนื้อหา) ที่ต่างกันได้)

ข้อดีของ Sub domain

  1. ง่ายต่อการ Setup แถมมีความยืดหยุ่น
  2. สามารถสร้างเว็บไซต์ใหม่ได้โดยที่ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม แถมยังช่วยส่งเสริม SEO ให้เว็บไซต์หลักหากใช้อย่างถูกวิธี
  3. ดูแลง่าย

ข้อดีของ Sub directory

  1. มีความเป็นมิตรกับ Search Engine สามารถจัดองค์ประกอบของเว็บไซต์ให้เป็นระเบียบและสวยงาม ผุ้ชทสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ง่าย
  2. Search Engine สามารถวิเคราะห์และติดตามผลได้ง่าย

จะเลือกใช้ Sub domain หรือ Sub directory ดี?

ถึงแม้ว่า Sub domain และ Sub directory จะมีข้อดีที่แตกต่างกันออกไป แต่ทั้งสองชนิดก็มีความน่าเชื่อถือและประหยัดเวลารวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีเท่ากัน ดังนั้นเราจึงอยากแนะนำว่า

หากคุณต้องการที่จะตั้งค่าส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้อย่างง่าย ๆ เช่น เนื้อหาในเว็บไซต์หลักเป็นเรื่องหนึ่งและอยากสร้างอีกเว็บไซต์หนึ่งมาโดยที่เนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์หลักเลย คุณควรจะเลือกใช้ Sub domain

แต่หากคุณต้องการให้ส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์แบ่งย่อยในรายละเอียดส่วนอื่น ๆ หรือจัดหมวดหมู่ให้สวยงาม คุณควรจะเลือกใช้ Sub directory ค่ะ

สรุป : Sub domain หรือ Sub directory หากเราใช้งานอย่างถูกวิธีสามารถส่งผลดีต่อ SEO ด้วยกันทั้งคู่

โดย หากคุณต้องการสร้างเว็บไซต์ใหม่ที่เนื้อหาต่างไปจากโดเมนหลัก ก็เลือก Sub domain แล้วแปะลิงก์มาที่เว็บไซต์หลัก แต่ถ้าคุณอยากจัดเนื้อหาหรือเพิ่มหมวดหมู่ที่ใช้งานอย่างเป็นสัดเป็นส่วน ควรเลือก Sub directory ค่ะ

การจะเลือกใช้งาน Sub domain หรือ Sub directory ให้ได้ตรงตามที่คุณต้องการ คุณควรพิจารณาด้วยตนเองว่าคุณต้องการอะไรในการใช้งานครั้งนี้เพื่อที่คุณจะได้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและได้ตรงตามเป้าหมายมากที่สุดค่ะ

Exit mobile version