WordPress คืออะไร อยากเป็นบล็อกเกอร์ทำไมต้องใช้ WordPresss เรารวบรวมทุกคำตอบที่ควรรู้ของ WordPress มาให้ครบจบในบทความเดียวค่ะ
WordPress คืออะไร ?
WordPress คือ โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้เราสามารถสร้างเว็บไซต์และบริหารจัดการเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องรู้โค๊ดหรือเก่งโปรแกรมใด ๆ เลย ถ้าจะให้อธิบายแบบง่ายที่สุด ก็คือ หนทางที่ดีที่สุดในการสร้างเว็บไซต์สำหรับมือใหม่ นั่นเองค่ะ
ทำไม WordPress จึงได้รับความนิยม
WordPress ไม่ใช่ว่าจะเหมาะแค่มือใหม่เท่านั้น แต่คนที่ชำนาญด้านการทำเว็บไซต์ส่วนใหญ่ก็ยังคงเลือกใช้ WordPress เราไปดูกันดีกว่า ว่าทำไม WordPress ถึงได้รับความนิยม
- ช่วยให้เราสร้างเว็บไซต์ที่สวยงามได้อย่างรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการออกแบบแถมยังใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
- WordPress มีธีมฟรี ๆ สวย ๆ และปลั๊กอินดี ๆ ให้เลือกใช้มากมาย
- WordPress ยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ด้วยตัวเองแม้ไม่เก่งโปรแกรมก็ทำได้
- สามารถเพิ่มฟังก์ชั่นหรือระบบปฏิบัติการได้มากมายด้วยการใช้ปลั๊กอิน ที่สำคัญปลั๊กอินฟรีใน WordPress มีมากกว่า 50000 รายการที่เราสามารถหยิบมาใช้ปรับแต่งเว็บไซต์ของเราได้อย่างสะดวก
- ติดตั้งง่าย ใช้งานง่าย เพียงคลิกแค่ไม่กี่ปุ่มเท่านั้น ที่สำคัญยังง่ายต่อการเรียนรู้ สามารถพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต
- เวลามีปัญหา สามารถหาวิธีแก้ได้ง่าย ด้วยมีชุมชนขนาดใหญ่ทั้งในบล็อก,บทแนะนำ,ฟอรั่ม,กลุ่ม Facebook หรือกลุ่มนักพัฒนาที่คุณสามารถขอความช่วยเหลือได้ฟรีหรืออาจมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยในกรณีที่จำเป็น
- มีการพัฒนาและอัพเดตเวอร์ชั่นใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
- WordPress มีจุดแข็งในด้าน SEO เพราะระบบของ WordPressถูกพัฒนาให้สอดคล้องกับการทำ SEO ทำให้การสร้างเว็บด้วย WordPress มักจะขึ้นมาอยู่อันดับสูง ๆ เวลามีคนหาข้อมูลผ่านเสิร์ชเอนจิ้น
wordpress สามารถทำอะไรได้บ้าง
คุณสามารถใช้ wordpress ได้ทุกอย่าง ตั้งแต่การหาเงิน ขายสินค้า โปรดมทตัวเองหรือธุรกิจ รวมไปถึงรวบรวมและจัดแสดงผลงานของคุณสู่สายตาชาวโลก ซึ่งคนส่วนใหญ่นิยมใช้งาน wordpress ให้ตรงตามความต้องการ อาทิเช่น
- ทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ขายของ โปรโมทสินค้าและบริการ
- สร้างหลักสูตรออนไลน์ จัดการดูแลและเรียกเก็บค่าเล่าเรียนไม่ว่าจะเป็นซื้อหลักสูตรหรือเก็บค่าเรียนรายเดือน
- สร้างบล็อกกิจกรรม รวบรวมผลงานหรือกิจกรรมที่กำลังจะมาถึงหรือที่ผ่านไปแล้ว
- สร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือกิจการของคุณเอง
- สร้างหน้า Landing Page เพื่อการขายสินค้า
- ทำนิตยสารออนไลน์
- สร้างบล็อกส่วนตัว
โดยนอกจากตัวอย่างที่ยกมานี้ผู้คนส่วนใหญ่ยังใช้ wordpress สร้างเว็บไซต์ในแบบเฉพาะตัวอีกมากมายแล้วแต่ไอเดียและความต้องการส่วนตัวค่ะ
สิ่งที่ต้องเตรียมในการติดตั้ง WordPress
การติดตั้ง WordPress ลงเว็บไซต์ในปัจจุบันถือว่าง่ายมาก ๆ เพียงแค่กดไม่กี่ปุ่มก็สามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว โดยก่อนจะติดตั้ง WordPress เราควรจะทำการจดโดเมนเนมและเช่าเซิร์ฟเวอร์ให้เรียบร้อย เสียก่อนค่ะ และเมื่อจดโดเมนและเช่าโฮสต์เรียบร้อยก็คลิกที่…
เครื่องมือ(Plugin)ที่จะช่วยเพิ่มพลังให้กับ WordPress
จริง ๆ แล้ว WordPress อย่างเดียวก็มีความสามารถอย่างล้นหลาม แต่ถึงอย่างนั้นแล้วเรายังสามารถเพิ่มความเก่งกาจของ WordPress ให้แรงขึ้นได้อีกด้วยการเสริม Plugin เด็ด ๆ เข้าไปค่ะ เช่น
Contact Form 7
เป็น Plugin ที่ใช้สร้างแบบฟอร์มติดต่อ ทำให้ผู้เข้าชมสามารถส่งข้อความติดต่อหาเจ้าของเว็บไซต์ได้ง่าย
WP-PageNavi
เป็น Plugin ที่ช่วยทำเลขนำทาง ให้ผู้อ่านสามารถค้นหาโพสต์เก่า ๆ ในเว็บไซต์ได้ง่ายยิ่งขึ้น
All-in-One WP Migration
เป็น Plugin ที่ช่วยให้การย้าย BackUp หรือโคลนนิ่งเว็บไซต์ ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
Akismet
ปลั๊กอินตัวนี้จะถูกติดตั้งมาให้โดยอัตโนมัติ โดยสิ่งที่เราต้องทำคือเปิดใช้งานปลั๊กอินเท่านั้น โดยปลั๊กอินนี้จะช่วยป้องกันคอมเมนต์สแปมให้เราได้
ข้อดีและข้อเสียของ wordpress
WordPress ถึงแม้ว่าจะมีคนนิยมใช้กันมากมาย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียเลย และการที่เราได้รู้จักกับข้อดีและข้อเสียก็จะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ข้อดีของ wordpress
- ใช้งานได้ฟรี ระบบภายในเข้าใจง่ายมีธีมสวย ๆ และปลั๊กอินคุณภาพดีให้เลือกใช้ได้มากมาย
- ใช้งานง่าย ไม่เก่งโปรแกรมหรือเครื่องมือใด ๆ เลยก็สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย
- ไซต์ของ wordpress สามารถแสดงผลได้ในอุปกรณ์ทุกประเภททั้งคอมพิวเตอร์และมือถือ
- มีความแรงด้าน SEO ในตัว แค่ทำเว็บด้วย wordpress ก็เหมือนทำ SEO ไปแล้วเกือบครึ่ง
- สามารถอัพเดตได้อย่างง่ายดายในทุกที่
- มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับแต่งรูปแบบได้ตามความต้องการ
ข้อเสียของ wordpress คือ
- มีข้อจำกัดในการออกแบบหรือปรับแต่งเว็บไซต์ด้วยตัวเอง การใช้งานบางอย่างยังอยู่ในส่วนของธีมหรือปลั๊กอินที่ออกแบบมาแล้วเป็นโครงสร้างเดิม
- หากอยากได้ธ๊มหรือปลั๊กอินพิเศษบางตัวอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง
- WordPress ยังมีปัญหาทางด้านความปลอดภัย ซึ่งอาจจะมีช่องโหว่ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถล้วงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลของคุณได้ง่าย
- การอัปเดตบางอย่างมือใหม่ก็ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้ด้านการออกแบบเว็บเพิ่มเติม
- อาจมีปัญหาเกี่ยวกับ SEO สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ เช่น หากเนื้อหาถูกทำเครื่องหมายเป็นหลายหมวดหมู่หรือติดแท็กมากเกินไป อาจทำให้ Google มองว่าเนื้อหาซ้ำซ้อนและอาจส่งผลต่ออันดับของเว็บไซต์ได้
5 ข้อระวังเมื่อใช้ WordPress
ซึ่งจากข้อเสียของ WordPress ที่เราได้เกล่าไปแล้ว หากเพื่อน ๆ เห็นว่าพอรับได้และตัดสินใจเลือกใช้ WordPress ก็มีข้อควรระวัง 5 ข้อที่คุณควรรู้ไว้ค่ะ ได้แก่
คำนึงถึงโครงสร้าง page
เนื่องจาก SEO ของ WordPress บางอย่างที่อาจจะทำให้ Google มองว่าเนื้อหาซ้ำซ้อน เราจึงควรคำนึงถึงโครงสร้างของ Page ให้ดีเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้
อย่าใช้วิดีโอและรูปภาพจำนวนมาก
เพราะภาพหรือวิดีโอจำนวนมากจะทำให้เว็บไซต์หนักและแสดงผลช้า แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้รูปหรือวิดีโอในเว็บไซต์เราก็มีเทคนิคดี ๆ ที่จะช่วยให้รูปภาพหรือวิดีโอนั้นเบาลง โดยเราจะมาบอกอีกทีในบทความต่อไปค่ะ
ควรเปิดใช้งานการอัปเดต wordpress แบบอัตโนมัติ
จะทำให้ช่วยประหยัดเวลาและระบบปฏิบัติการในเว็บไซต์ของเราทันสมัยอยู่เสมอ
เพิ่มความแรงให้ WordPress ด้วยการทำ SEO เสริม
ถึงแม้ว่า WordPress จะขึ้นชื่อเรื่องมีความแรงในด้าน SEO แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ต้องเสริมอะไรเลย ยิ่งหากเราเพิ่มพลังด้าน SEO ที่ถูกต้องให้เว็บไซต์ ก็จะสามารถดันอันดับเว็บไซต์ของเราให้ติดหน้าแรกของการค้นหาได้ง่าย
โดยการทำ SEO เสริมเบื้องต้นนั้น คุณสามารถอ่านได้จาก…
ระมัดระวังเกี่ยวกับการใส่โฆษณา (Affiliate)
ในขั้นแรกของการทำเว็บ ไม่อยากให้เน้นไปที่การใส่โฆษณาหรือลิ้งก์ Affiliate มากเกินไปเพราะอาจทำให้ผู้เข้าชมเกิดความรำคาญและออกจากเว็บเร็วขึ้นได้ แนะนำให้ความสำคัญกับเนื้อหาของบทความก่อน เพื่อรักษาฐานผู้ชมที่เหนียวแน่นค่ะ
สรุป : WordPress เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาสำหรับมือใหม่ที่อยากสร้างเว็บไซต์ของตัวเองได้ง่าย
WordPress ถือเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาสำหรับมือใหม่ที่อยากสร้างเว็บไซต์ของตัวเองได้ง่าย ๆ และรวดเร็ว ฟังก์ชั่นบางอย่างก็ฟรีและสะดวกสบาย แต่ก็มีข้อด้อยบางอย่างที่ควรรู้เอาไว้ เพื่อการตัดสินใจเลือกใช้งานให้ตรงตามความต้องการของตัวคุณเอง
ซึ่งคำตอบสั้นๆว่า WordPress เหมาะสมสำหรับการใช้งานของคุณหรือไม่ คงต้องพิจารณาว่า การใช้งบประมาณที่ต่ำแต่แลกกับฟังก์ชั่นการใช้งานที่จำกัดของ WordPress สามารถ ตอบโจทย์ที่คุณต้องการได้หรือไม่ และคุณรับได้กับข้อเสียที่มีอยู่มากแค่ไหน ค่ะ